Thursday, August 13, 2009

เทศกาลโอบ้ง

เทศกาลโอบ้ง (O-bon)


ตรงกับวันที่ 13-15 สิงหาคมของทุกปี(บางพื้นที่เป็น 13-16 กรกฎาคม)


เป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่า บรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะกลับมาจากนรกภูมิ เริ่มต้นจะมีการจุดไฟต้อนรับที่หน้าบ้าน ถวายผักบูชา มีการละเล่น และในวันสุดท้าย จะจุดไฟ โอคุริบิ (Okuribi) เป็นการส่งกลับวิญญาณบรรพบุรุษ


"โอบ้ง" นับว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ จนไม่อาจที่จะขาดไปได้ของชาวญี่ปุ่นเลยทีเดียว ทุกๆ ปี ในเดือน 8 ( สิงหาคม ) นั้นจะเป็นเดือนที่ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะได้รับอนุญาตให้กลับมาเยี่ยม เยือนญาติพี่น้องและลูกหลานได้อย่างอิสระ คนญี่ปุ่นในทุกบ้านเรือนจะจัดสำรับกับข้าวพร้อมทั้งอาหาร คาวหวานและดอกไม้ขึ้นตั้งให้ไว้บนหิ้งหรือตู้ของบรรพบุรุษซึ่งมีชื่อเฉพาะ ว่า " บุสึดัง " เพื่อตอนรับ ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษของตน จุดประสงค์ก็เพื่อให้ได้พักผ่อน,ได้กินอยู่อย่างอิ่มหนำสำราญ และจะมีกำหนดระยะเวลาที่จะอนุญาตให้ดวงวิญญาณเหล่านี้อยู่ที่บ้านได้นานถึง เกือบหนึ่งเดือน แล้วจากนั้นถึงจะนำกลับไปส่งยังที่สุสานอย่างเดิม ซึ่งเป็นอันว่าเป็นการเสร็จพิธีการหรือจบการ ไหว้ในวันโอบ้ง

ที่มาหรือต้นตอของธรรมเนียมของ"โอบ้ง " นั้น เล่ากันต่อ ๆมาว่า.....เมื่อกาลก่อนเนิ่นนานที่ผ่านมาในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่เหนือผู้ใดทั้งปวงในโลก...มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้มีบุรุษ ชื่อ " โมคุเรน " เป็น กำพร้ามารดาได้เสียชีวิตมานานหลายปี อยู่ต่อมาเขาเกิดศรัทธาในพระพุทธ ศาสนาจึงได้ออกบวช เป็นพระภิกษุ ทำการเพียรจิตสมาธิจนกระทั่งสามารถได้เห็นนรกและสวรรค์


ใน ครั้งหนึ่ง " พระโมคุเรน " ขณะที่ไปท่องอยู่ที่ใน นรกภูมิก็เกิดได้ไปพบและได้เห็นว่ามารดาของตนนั้น ต้องทนทุกขเวทนาอด ๆ อยากๆ อยู่ที่นั่น ท่านมีจิตเวทนา และนึกสงสารในผลกรรมอันแสนที่จะทารุณอันไม่จบสิ้นของมารดาเป็นอย่างมาก


วัน หนึ่ง" พระโมคุเรน " ได้มีโอกาสได้ไปเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า เมื่อมีโอกาสจึงได้เล่าเรื่องราวที่ท่านไปเห็นมารดาที่ในนรกภูมิมา และยังกราบทูล ถามว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถที่จะช่วยหรือแบ่งเบาให้มารดาของตนนั้นคลายจาก ทุกขเวทนานี้เสียได้... พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับรับฟังแล้วตรัสกับ" พระโมคุเรน " ว่า " ดูกรโมคุเรน ไม่ใช่ว่าจะคิด ช่วยแต่เฉพาะคนคนเดียว...ไม่ใช่ว่าจะคิดช่วยแต่แค่มารดาของตนแต่เพียงอย่าง เดียว...จงคิดช่วย ไปถึงบุคคลอื่น ๆ ทุกคนที่ได้ตายไปครั้งก่อน ๆ ที่ไม่ใช่ญาติของเราก็ตาม...ท่านจงอุทิศส่วน กุศลและแผ่เมตตาให้กับเขาเหล่านั้นทุกคนเสียด้วย..."


เรื่อง ราวของพระโมคุเรนนี้ จึงทำให้เกิดธรรมเนียม"โอบ้ง " ขึ้นในกาลเวลาต่อมา...ซึ่งก็มีจุดมุ่งหมายถึงการทำการต้อนรับ ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้กลับมาพักผ่อนที่บ้านได้และให้ได้ กินอย่างอิ่มหนำ สำราญ พิธีการต้อนรับดวงวิญญาณนั้นก็จะมีการจุดไฟเพื่อรับดวงวิญญาณกันที่ท่าน้ำ บ้าง, ที่หน้า บ้านของตนบ้าง, หรือไปรับกลับมาโดยตรงจากสุสานของตระกูลก็มี เป็นธรรมเนียมที่กระทำ กันต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเทศกาลโอบ้ง


· "โอบ้งมาซึรี " เป็นงานเลี้ยงฉลองต้อนรับดวง วิญญาณของบรรพบุรุษเพื่อให้เกิดความครื้นเครงรื่นรมย์หรรษาในขณะที่ได้กลับ มาที่บ้านของตน งานจะเป็นเหมือนหรือคล้าย ๆ กับงานวัดของไทยเรานี่เอง ด้วยจะมีการตีกลอง และจะเต้นรำไปรอบ ๆ ชั้นที่สร้างเป็นห้างอยู่กลางงานเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ก็จะ ใส่ชุด " ยูกาตะ" ( ชุดกิโมโนหน้าร้อน ) ในงานจะมีเสียงเพลงบรรเลงอยู่ตลอดเวลาสร้าง บรรยากาศให้สนุกสนานและครื้นเครงได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว งานนี้จะมีกำหนดระยะเวลา ถึงเกือบหนึ่งเดือนเต็ม ๆ แต่จะจัดสลับกันไปในหลาย ๆ ที่ จนทั่วทั้งเมือง และในหนึ่งงานนั้น จะจัดกันประมาณ 3-4 วันเป็นอย่างน้อย


· "โชเรียวอุมะ" จะเป็นชื่อของมะเขือม่วง และ แตงกวา ที่ได้ใช้ตะเกียบหรือไม้ไผ่นำมาเหลาให้เล็ก ๆ แล้วนำไปเสียบให้เป็นขาสี่ขา สันนิษฐานตามความเชื่อถือกันมาแต่สมัยโบราณว่า "มะเขือม่วงนั้น"เปรียบเป็น " ม้า " และ "แตงกวา"ก็จะเปรียบเป็น " วัว " เชื่อกันว่าวิญญาณหรือผีของญี่ปุ่นนั้นจะไม่มีขา ว่ากันว่าเมื่อตายลงไปก็จะโดนตัดขาทิ้งเสียนั่นเอง ดังนั้นวิญญาณเหล่านี้จึงจะต้องมีหรือจะต้อง ใช้สิ่งสองสิ่งนี้เป็นที่นั่งและที่วางสัมพาระต่าง ๆ ของตนบรรทุกกลับมาสู่บ้านนั่นเอง...

· "มุไคเอฮี" เป็นการก่อกองไฟหรือจุดคบ ไฟมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ได้กลับมานั้นได้เดินทาง สะดวกทั้งขามาและ กลับ เพื่อไม่ให้หลงทางไปทางไหน....ตัวอย่างเช่น การก่อคบไฟให้เป็นรูปตัว อักษรของคำว่า "ได" ซึ่งจะกระทำขึ้นทุก ๆ ปีที่วัด "ไดม่อนจี่ซามะ" ซึ่งเป็นวัดที่ มีชื่อเสียงของเมืองโอซาก้า เป็นคบไฟที่แสดงเตรื่องหมายของการรับกลับและไฟของการส่ง วิญญาณ ซึ่งธรรมเนียมการจุดคบไฟของวัดนี้ได้กระทำสืบเนื่องกันติดต่อกันมาตั้งแต่ใน สมัย เอโดะ เป็นการก่อคบไฟบนภูเขาที่มีชื่อเสียงมาก

http://frevaras.exteen.com/20061205/entry

ไหว้บรรพบุรุษรำลึกผู้ล่วงลับ

ไหว้บรรพบุรุษรำลึกผู้ล่วงลับ

ปฏิทินเดือนเมษายนนอกจาก จะมีตัวเลขสีแดงบอกแจ้ง วันสงกรานต์ ในปฏิทินยังปรากฏอักษรบ่งบอกถึง วันเช็งเม้ง เทศกาลที่มีความหมายซึ่งปีนี้เวียนมาถึงอีกครั้ง




เช็งเม้ง หมายถึงฤดูกาลซึ่งฤดูกาลของชาวจีนแบ่งเป็น 4 ฤดูกาลใหญ่ ได้แก่ ใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เทศกาลเช็งเม้งอยู่ในช่วงปลายของฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูกาลย่อยซึ่งช่วงเวลานี้ อากาศจะสดชื่นคลายจากความหนาวเย็นเริ่มเข้าสู่อากาศอบอุ่น ท้องฟ้าจะสว่างสดใส อ.เศรษฐพงษ์ จงสงวน สถาปนิก นักวิชาการอิสระผู้ศึกษาวัฒนธรรมจีนเริ่มบอกเล่า พร้อมให้ความรู้ถึง ประเพณีเช็งเม้ง ที่ มีความหมายความสำคัญเป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษแสดงความเคารพกตัญญูของ ลูกหลานจีน รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน

ในการกำหนดปีของชาวจีนจะใช้พระอาทิตย์เป็น สิ่งกำหนด ซึ่งการโคจรของดวงอาทิตย์หนึ่งวงรอบ 360 องศา ชาวจีนจะแบ่งเวลาเป็นช่วงละ 15 องศาเป็นหนึ่งฤดูกาลย่อย ซึ่งการแบ่งฤดูกาลอย่างนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่ทำการเกษตรกรรม อย่างถ้าช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่หิมะตก อากาศร้อน แมลงออกจากการจำศีล ฯลฯ การแบ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บอกให้ได้ทราบและเช็งเม้งก็เป็นหนึ่งในฤดูกาล แบบนี้ โดยเช็งเม้ง หมายถึงความสว่างสดใส

“ในความสดใสนั้นหมายความว่า อากาศจะเริ่มคลายจากความหนาวและค่อยอุ่นขึ้นจนถึงอากาศร้อนในฤดูร้อน ซึ่งอากาศสดใสก็จะมีความเย็นกว่าฤดูร้อนทำให้เหมาะแก่การออกนอกบ้าน เหมาะแก่การเริ่มทำการเกษตรกรรม ต่างจากช่วงตรุษจีนซึ่งเป็นช่วงที่หนาวจึงเป็นการเริ่มตระเตรียมการทำนา พอถึงฤดูใบไม้ผลิก็จะเริ่มทำนาปักดำ หลังจากปักดำได้ถึงช่วงเช็งเม้งก็จะเป็นช่วงที่มีฝนตกพรำเริ่มมีแสงแดดอุ่น ซึ่งจากนี้ไปก็จะเริ่มเข้าหน้าร้อนจะเริ่มมีพืชแตกยอดอ่อน ผลิดอกก็จะเป็นวงจรไป”

ทีนี้เช็งเม้งพอเป็นเรื่องของฤดูกาลแล้ว ในความเข้าใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือช่วงเวลาที่ชาวจีนจะออกไปเซ่นไหว้ที่สุสาน ซึ่งการเซ่นไหว้ที่เกิดขึ้นจะมีด้วยกัน 2 ครั้งคือ ในช่วงเวลานี้ฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงฤดูหนาว โดยช่วงฤดูหนาวจะอยู่ในราววันที่ 22 เดือนธันวาคม ซึ่งสองช่วงเวลานี้จะเป็นโอกาสที่เซ่นไหว้สุสาน แต่บางท้องถิ่นช่วงอากาศหนาวไปไม่ได้ก็จะถือช่วงเช็งเม้งเป็นหลัก

“ช่วงเวลานี้ในประเทศไต้หวัน ประเทศจีนจะเรียกว่า เส้าหมอ หรือ การเก็บกวาดสุสาน ซึ่งจะไม่ค่อยเรียกว่า เช็งเม้ง ก็จะไปทำความสะอาดและเซ่นไหว้ซึ่งการแสดงความเคารพระลึกถึงบรรพบุรุษใน เทศกาลนี้ชาวจีนบางถิ่นเรียกการเซ่นไหว้สุสานว่าก้วยจั้ว แปลว่าแขวนกระดาษ เพราะเมื่อเซ่นไหว้และเผากระดาษเสร็จแล้วต้องนำกระดาษสี 5 สีที่ตัดเป็นแถบยาววางไว้ที่บนป้ายจารึกหน้าสุสาน และโปรยไว้บนเนินดินสุสาน เป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่าลูกหลานได้มาเซ่นไหว้แล้ว หากครอบครัวไหนไม่ได้เก็บศพบรรพบุรุษไว้ที่สุสานหรือมีบรรพบุรุษอยู่ไกลที่ ประเทศจีนก็จะตั้งไหว้ที่บ้าน ครอบครัวไหนเก็บกระดูก ป้ายวิญญาณไว้ที่วัด ก็จะมาเซ่นไหว้กันที่วัด”

การเซ่นไหว้เครื่องเซ่นไหว้นอกจากจะมีอาหารคาว หวาน ผลไม้ ฯลฯ อะไรก็ได้ตามความเหมาะสม ความต้องการของลูกหลาน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นที่นิยมเป็นขนมคู่เทศกาลนี้จะมีการไหว้ ขนมจือชังเปี้ย ซึ่งเป็นขนมเปี๊ยะอย่างหนึ่งข้างในจะใส่ต้นหอมโดยมีทั้งแบบอบกรอบ และแบบนิ่ม ขนมชนิดนี้จะทำเฉพาะเทศกาลเช็งเม้งเท่านั้นเป็นของชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งคนจีน ถิ่นอื่นจะไม่ค่อยใช้ นอกจากนี้การเซ่นไหว้ของประเพณีนี้จะมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองร่วมด้วย

“โดยปกติ กระดาษเงิน กระดาษทอง จะคู่กับการเซ่นไหว้ซึ่งในการไหว้บรรพบุรุษ จะใช้เช่นเดียวกันจะมีการเผากระดาษเงินกระดาษทองส่งไป รวมทั้งมีเครื่องกระดาษที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้และในเวลานี้มีหลาก หลายรูปแบบ ซึ่งเครื่องใช้อุปโภคบริโภค จะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและคาดว่าจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ อย่างพาหนะ แต่เดิมเป็นเกี้ยว เป็นรถม้า แต่ปัจจุบันเป็นรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ คันเล็กคันใหญ่ก็สุดแท้เหมาะแก่สถานะของผู้ซื้อ เครื่องบิน บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ วีซีดี บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียม พัดลม ฯลฯ ก็จะถูกเผาส่งไปให้แก่ผู้ล่วงลับ

แต่ ที่จะขาดไม่ได้ต้องมีเสื้อผ้าซึ่งช่วงเวลานี้ถือเป็นโอกาสที่ส่งเสื้อผ้าไป เปลี่ยนให้แก่ท่านก็ส่งเป็นเสื้อผ้ากระดาษไปให้ก็จะมีทั้งแบบจัดเป็นห่อเป็น ชิ้น ๆ ซึ่งเสื้อผ้าจะมีการจัดแบ่งไว้ชัดเจนมีทั้งเสื้อผ้าแบบผู้ชายและผู้หญิง”

ขณะที่ประเทศไทยมีเทศกาลเช็งเม้งประเทศเพื่อนบ้านที่รับวัฒนธรรม จีนก็มีเทศกาลนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ก็จะเก็บกวาดสุสาน ไหว้บรรพบุรุษซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน แต่อาจจะมีต่างกันไปบ้างอย่างในเมืองไทยจะมีการไหว้บรรพบุรุษเช็งเม้งก่อน วันจริง ขณะที่ชาวจีนอาจจะทำหลังวันเช็งเม้ง

แต่อย่างไรก็ตามประเพณีที่มีความหมายความสำคัญนี้เป็นช่วงเวลาอันดีที่ครอบ ครัวจะได้กลับมาพบเจอได้ทำบุญระลึกถึงญาติผู้ล่วงลับร่วมกันและขณะที่ทุก เทศกาลแต่ละปีจะหมุนเวียนผ่านมา นอกจากความหมายความสำคัญของเทศกาลนี้ที่แสดงถึงความเคารพกตัญญูระลึกถึงผู้ ล่วงลับ

อีกด้านหนึ่งยังเป็นเสมือนกุศโลบายแยบยลของคนโบราณที่คิดในเรื่องวัฒนธรรม ประเพณีเป็นสิ่งที่แฝงไว้ให้เรียนรู้ถึงกาลเทศะซึ่งมีความสำคัญ

“กาลเทศะเป็นการแสดงให้เห็นว่าถึงช่วงเวลานี้ควรที่จะต้องทำอะไร เป็นการเตือนตนในการดำเนินชีวิตซึ่งไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร วางตัวอย่างไรหากรู้จักกาลเทศะก็ช่วยให้รู้จักตัวตนของตัวเอง รู้หลักการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า มีสติ ก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง รุ่งเรือง” อาจารย์ท่านเดิมกล่าวทิ้งท้าย

จากคุณค่าความหมายของประเพณี การไหว้บรรพบุรุษ เช็งเม้ง ช่วงเวลานี้เป็นอีกโอกาสอันดีที่จะแสดงความเคารพทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติ ผู้ล่วงลับ อีกทั้งยังเป็นการทบทวนการดำเนินชีวิตอีกร่วมด้วย.


ที่มา: http://astro.popcornfor2.com/horoscope/fengshui_detail.php?id_=0163170712200855I&start=0&dataPerPage=12

ZAMACHITA - I AM ZAM